
โรงไฟฟ้ากังหันก๊าซไทรน้อย เป็นโครงการเร่งด่วนตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2536 และได้รับความเห็นชอบ ให้ดำเนินการจากคณะกรรมการพัฒนราเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ในวันที่ 30 พฤษภาคม 2537 โดยลักษณะโครงการ เป็นโรงไฟฟ้าแบบกังหันก๊าซ จำนวน 2 เครื่อง ขนาดกำลังผลิตเครื่องละ 122 เมกะวัตต์ รวมกำลังผลิต 244 เมกะวัตต์ ออกแบบให้ใช้เชื้อเพลิง ได้ทั้งก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันดีเซล เดินเครื่องจ่ายกระแสไฟฟ้า เสริมระบบในช่วงที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด และเสริมความมั่นคง ของระบบไฟฟ้ารวมทั้งประเทศ
ที่ตั้งโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซไทรน้อย
บริเวณตำบลไทรน้อย อำเภอไทรน้อย จังหวัดนนทบุรี ในพื้นที่ประมาณ 28 ไร่

การดำเนินงานและการจัดการ
การก่อสร้างเริ่มเมื่อกลางเดือนมิถุนายน 2537 ดำเนินการแล้วเสร็จ จนโรงไฟฟ้าทั้งสองสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ครั้งแรก เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2538 และวันที่ 8 มิถุนายน 2538 ตามลำดับ โดยใช้เงินทุนทั้งหมด 3,517.41 ล้านบาท
การควบคุมการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซไทรน้อย
มีผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด 12 คน และเนื่องจากโรงไฟฟ้าฯ เดินเครื่องจ่ายกระกระแสไฟฟ้า เพื่อเสริมระบบในช่วงที่มีความต้องการใช้สูงสุด การจัดผู้ปฏิบัติงานกะ จึงปรับเปลี่ยนไปตามสภาพของโหลด คือแบ่งออกเป็น 5 กะ ซึ่งจะมากกว่าการจัดกะปฏิบัติการโดยทั่วไปของ กฟผ. 1 กะ ได้แก่
มีผู้ปฏิบัติงานทั้งหมด 12 คน และเนื่องจากโรงไฟฟ้าฯ เดินเครื่องจ่ายกระกระแสไฟฟ้า เพื่อเสริมระบบในช่วงที่มีความต้องการใช้สูงสุด การจัดผู้ปฏิบัติงานกะ จึงปรับเปลี่ยนไปตามสภาพของโหลด คือแบ่งออกเป็น 5 กะ ซึ่งจะมากกว่าการจัดกะปฏิบัติการโดยทั่วไปของ กฟผ. 1 กะ ได้แก่
1. กะเช้า (08.00-16.00 น.) ผู้ปฏิบัติงาน 3 คน
2. กะบ่าย (16.00-24.00 น.) ผู้ปฏิบัติงาน 3 คน
3. กะดึก (00.00-08.00 น.) ผู้ปฏิบัติงาน 2 คน
4. กะพัก (หยุด) ผู้ปฏิบัติงาน 2 คน>
5. กะแยก (08.00-24.00 น.) ผู้ปฏิบัติงาน 2 คน

การทำงานของโรงไฟฟ้า
เริ่มโดยใช้มอเตอร์ (Motor)เป็นตัวขับเครื่องกังหันก๊าซ (Gas Turbine) ให้หมุนได้รอบประมาณ 600 รอบ/นาที เพื่อให้เครื่องอัดอากาศ (Compressor) สร้างแรงดันลมขึ้นมาแล้วส่งเข้าห้องเผาไหม้ (Combustion Chamber) ซึ่งภายในห้องเผาไหม้จะมีหัวฉีด (Nozzle) และหัวเทียน (Lgnitor) อยู่เมื่อเครื่องกังหันก๊าซมีความเร็วถึง 600 รอบ/นาที เครื่องปั๊ม (Main Fuel Oil Pump) จะส่งน้ำมันเข้าห้องเผาไหม้ผ่านทางหัวฉีด และหัวเทียนจะเป็นจุดระเบิด ทำให้เกิดการเผาไหม้ สร้างแรงดันขับเครื่องกังหันก๊าซ ให้ไปขับเพลาหมุน (Rotor) ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) อีกต่อหนึ่ง ผลิตกระแสไฟฟ้าออกมาในที่สุด การเดินเครื่องผลิตไฟฟ้า ดำเนินการตามศูนย์ควบคุมระบบกำลังไฟฟ้าสั่ง คือวันละประมาณ 14 ชั่วโมง ประมาณ 08.00-22.00 น. และหยุดเดินเครื่องทุกวันอาทิตย์ เชื้อเพลิงที่ใช้เป็นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 357 ไม่ผสมสารเจือปน (Additive) มีอัตราการใช้โดยเฉลี่ยวันละประมาณ 1 ล้านลิตร โดยรับน้ำมันจากคลังน้ำมันบางประอิน เข้าเส้นทาง 345 ออกเส้นตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี แล้วเข้าถนนบางกรวย-ไทรน้อย สู่โรงไฟฟ้าฯ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น